การกำกับดูแลกิจการ

นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน

บริษัทกำหนดให้มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนิน ธุรกิจและเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการของบริษัท ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา พนักงานทุกคนทุกระดับ มีส่วนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือ รับสินบน บรรลุตามนโยบายที่กำหนดอย่างเหมาะสม ตลอดจนทบทวนแนวทางการปฏิบัติ และข้อกาหนดในการดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย ผู้บริหารและพนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฏ ระเบียบที่ว่าด้วยเรื่อง การป้องกันและต่อต้านการ การให้หรือรับสินบน ในทุก ภูมิภาค หรือทุกประเทศที่บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจด้วยโดย

 

  1. ห้ามกรรมการผู้บริหารและพนักงานทุกคนของบริษัทกระทำการหรือยอมรับหรือให้การสนับสนุนการทุจริตและคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะด้วยการเสนอให้ การให้คำมั่นสัญญา การเรียกร้อง การร้องขอ การให้หรือรับสินบน หรือมีพฤติกรรมใดที่ส่อไปในทางทุจริตหรือคอร์รัปชั่น โดยให้สนับสนุนทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง ลูกค้า คู่ค้า ผู้รับจ้างและผู้รับจ้างช่วงให้มีการปฏิบัติเช่นเดียวกับบริษัท และให้มีการสอบทานแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ กฎหมายและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ
  2. บริษัทมีนโยบายเป็นกลางทางการเมือง ไม่เข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจว่า บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วยเหลือทางการเมืองแก่พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งหรือกลุ่มพลังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยจะวางตัวเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่พรรคหรือกลุ่มการเมืองใดและจะไม่ใช้ทรัพย์สินของบริษัทเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือให้ความช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งทางการเมืองคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ และบริษัทถือว่า พนักงานสามารถใช้สิทธิของตนเองในฐานะพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  3. บริษัทฯ มีนโยบายที่จะปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน การให้หรือรับสินบน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาคเอกชน โดยถือว่าการกระทำใด ๆ ที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน บุคลากรทุกระดับจะต้องต่อต้านและละเว้นการกระทำเช่นว่านั้น
  4. บริษัทจะควบคุมการบริจาค การให้เงินสนับสนุน การให้ของขวัญทางธุรกิจและการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆให้มีความโปร่งใสถูกต้องตามกฎหมาย
  5. บริษัทจัดให้มีการควบคุมและตรวจสอบภายในที่เหมาะสม สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันมิให้พนักงานทุกคนปฏิบัติขัดกับนโยบายนี้ การจ่ายเงินหรือให้สิ่งของมีค่า หรือบริการ อาทิ ของขวัญ ความบันเทิง การท่องเที่ยว ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐต่างประเทศ และผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อให้บุคคลนั้นกระทาการ หรือละเว้นกระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดกฎหมาย เป็นการกระทำที่ไม่สมควรปฏิบัติอย่างยิ่ง ทั้งนี้รวมถึงไม่ควรส่งเสริม หรือมีส่วนร่วมให้บุคคลอื่นมีการ
  6. กระทำดังกล่าวด้วย
  7. จัดให้มีการปฐมนิเทศและการฝึกอบรมให้แก่บุคลากร เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการและขั้นตอนปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน
  8. จัดให้มีระบบควบคุมภายในเพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน ซึ่งครอบคลุมถึงกระบวนการเก็บบันทึกข้อมูลทางการเงิน การบัญชี กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล และกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของบริษัท
  9. จัดให้มีการรายงาน การติดตาม และการทบทวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจได้ว่านโยบายมีความครบถ้วน เพียงพอและ ทันต่อสภาวการณ์
  10. จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารที่ปลอดภัยให้บุคลากรของบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถขอคำแนะนำ แจ้งเบาะแส ข้อเสนอแนะ หรือร้องเรียนกรณีเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน โดยมีมาตรการคุ้มครองสิทธิให้แก่บุคคลดังกล่าว
  11. ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันกับบริษัท รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อเป็นแนวร่วมปฏิบัติและเข้าร่วมในกิจกรรมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท สมาคม หอการค้า หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ

นโยบายดำเนินธุรกิจ

บริษัทกำหนดให้มาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนิน ธุรกิจและเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการของบริษัท ผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา พนักงานทุกคนทุกระดับ มีส่วนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือ รับสินบน บรรลุตามนโยบายที่กำหนดอย่างเหมาะสม ตลอดจนทบทวนแนวทางการปฏิบัติ และข้อกาหนดในการดำเนินการ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย ผู้บริหารและพนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฏ ระเบียบที่ว่าด้วยเรื่อง การป้องกันและต่อต้านการ การให้หรือรับสินบน ในทุก ภูมิภาค หรือทุกประเทศที่บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจด้วยโดย

 

  1. ห้ามกรรมการผู้บริหารและพนักงานทุกคนของบริษัทกระทำการหรือยอมรับหรือให้การสนับสนุนการทุจริตและคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะด้วยการเสนอให้ การให้คำมั่นสัญญา การเรียกร้อง การร้องขอ การให้หรือรับสินบน หรือมีพฤติกรรมใดที่ส่อไปในทางทุจริตหรือคอร์รัปชั่น โดยให้สนับสนุนทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง ลูกค้า คู่ค้า ผู้รับจ้างและผู้รับจ้างช่วงให้มีการปฏิบัติเช่นเดียวกับบริษัท และให้มีการสอบทานแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนด ข้อบังคับ ประกาศ กฎหมายและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ
  2. บริษัทมีนโยบายเป็นกลางทางการเมือง ไม่เข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจว่า บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วยเหลือทางการเมืองแก่พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งหรือกลุ่มพลังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยจะวางตัวเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่พรรคหรือกลุ่มการเมืองใดและจะไม่ใช้ทรัพย์สินของบริษัทเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือให้ความช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งทางการเมืองคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ และบริษัทถือว่า พนักงานสามารถใช้สิทธิของตนเองในฐานะพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  3. บริษัทฯ มีนโยบายที่จะปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน การให้หรือรับสินบน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาคเอกชน โดยถือว่าการกระทำใด ๆ ที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน บุคลากรทุกระดับจะต้องต่อต้านและละเว้นการกระทำเช่นว่านั้น
  4. บริษัทจะควบคุมการบริจาค การให้เงินสนับสนุน การให้ของขวัญทางธุรกิจและการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆให้มีความโปร่งใสถูกต้องตามกฎหมาย
  5. บริษัทจัดให้มีการควบคุมและตรวจสอบภายในที่เหมาะสม สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันมิให้พนักงานทุกคนปฏิบัติขัดกับนโยบายนี้ การจ่ายเงินหรือให้สิ่งของมีค่า หรือบริการ อาทิ ของขวัญ ความบันเทิง การท่องเที่ยว ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐต่างประเทศ และผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อให้บุคคลนั้นกระทาการ หรือละเว้นกระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดกฎหมาย เป็นการกระทำที่ไม่สมควรปฏิบัติอย่างยิ่ง ทั้งนี้รวมถึงไม่ควรส่งเสริม หรือมีส่วนร่วมให้บุคคลอื่นมีการ
  6. กระทำดังกล่าวด้วย
  7. จัดให้มีการปฐมนิเทศและการฝึกอบรมให้แก่บุคลากร เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการและขั้นตอนปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน
  8. จัดให้มีระบบควบคุมภายในเพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน ซึ่งครอบคลุมถึงกระบวนการเก็บบันทึกข้อมูลทางการเงิน การบัญชี กระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล และกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของบริษัท
  9. จัดให้มีการรายงาน การติดตาม และการทบทวนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจได้ว่านโยบายมีความครบถ้วน เพียงพอและ ทันต่อสภาวการณ์
  10. จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารที่ปลอดภัยให้บุคลากรของบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถขอคำแนะนำ แจ้งเบาะแส ข้อเสนอแนะ หรือร้องเรียนกรณีเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน โดยมีมาตรการคุ้มครองสิทธิให้แก่บุคคลดังกล่าว
  11. ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันกับบริษัท รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อเป็นแนวร่วมปฏิบัติและเข้าร่วมในกิจกรรมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและการให้หรือรับสินบน ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท สมาคม หอการค้า หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ

นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

  1. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการ โดยนำกฎเกณฑ์ข้อกำหนดมาจัดทำเป็นมาตรฐานในการดำเนินงาน
  2. ดำเนินการลดความเสี่ยง ป้องกันและควบคุมอันตราย การบาดเจ็บ โรคจากการทำงาน มลพิษด้านสิ่งแวดล้อม และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อพนักงาน ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชน
  3. จัดให้มีมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม สำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ โดยดำเนินการภายใต้นโยบายและกฎระเบียบของบริษัท
  4. กำหนดหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงานทุกคน
  5. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาความรู้ความสามารถ โดยจัดการฝึกอบรม ให้ความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึก
  6. จัดให้มีการพิจารณาผลงานด้านความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยถือเป็นหัวข้อหลักในการประเมินผลงานประจำปีของพนักงานทุกคน

นโยบายเกี่ยวกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพติด

  1. จัดให้สถานที่ทำงานของพนักงานเป็นสถานที่ที่ปลอดจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพติด
  2. การใช้ ครอบครอง แจกจ่าย หรือจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพติด ในสถานที่ทำงานของบริษัท เป็นเรื่องที่ห้ามโดยเด็ดขาด และจะถูกดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท
  3. บริษัทจะให้ความร่วมมือกับทางราชการในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทุกประเภทอย่างเต็มที่
  4. บริษัทอาจทำการตรวจค้นยาเสพติดหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในสถานที่ที่บริษัทเป็นเจ้าของหรือครอบครองโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  5. บริษัทอาจส่งพนักงานไปหาแพทย์ หรือส่งแพทย์เข้าที่ทำงาน เพื่อทำการตรวจเกี่ยวกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติดในร่างกายของพนักงาน เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าพนักงานนั้นติดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติด

นโยบายคุณภาพ

“มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม ตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยจิตสำนึกความรับผิดชอบ เพื่อการส่งมอบที่มีคุณภาพ ตรงต่อเวลา และความพึงพอใจของลูกค้า โดยทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”

การดำเนินการของบริษัทฯ เพื่อให้บรรลุถึงนโยบายคุณภาพ ต้องดำเนินการดังนี้

  1. ผู้บริหารระดับสูงต้องสนับสนุนและสื่อสารให้พนักงานนำระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 ไปใช้ในการทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. พัฒนาระบบการทำงานของบริษัทให้มีมาตรฐานสูงขึ้น สามารถตรวจสอบ จัดเก็บ สืบหา วิเคราะห์ข้อมูลเดิมย้อนหลังได้
  3. การส่งมอบงานตรงเวลา และการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า
  4. การบริหารงานและการจัดการควบคุมการก่อสร้างให้บรรลุผลตามเป้าหมายของแต่ละโครงการ
  5. เสริมสร้างความรู้ในองค์กรเพื่อพัฒนาทักษะพนักงานในทุกตำแหน่งงาน

จึงประกาศให้ทราบและยึดถือปฏิบัติโดยทั่วกัน ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2563

กฏหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว

นโยบายความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA)

ของ บริษัท เอ็ม อี ซี วิศวกรรม จํากัด

วัตถุประสงค์

เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของพนักงานบริษัท เอ็ม อี ซี วิศวกรรม จํากัด รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของ

ลูกค้า ที่ปรึกษาโครงการ คู่ค้าทางธุรกิจ และผู้รับเหมา ซึ่งหมายถึง ข้อมูลใดๆ ที่ทําให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่

ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม โดยมาตรการความปลอดภัยฯ นี้จะเน้นการสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้

ปลอดภัย และนําไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคํายินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต โดยกฎหมาย

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในมาตรการความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลฯ

1.เจ้าของข้อมูล หมายถึง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งทําให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

2.ผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย

2.1.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตัดสินใจ เกี่ยวกับการเก็บ

รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะให้มีการออกเอกสารสัญญาที่จะไม่เปิดเผยข้อมูล (NDA : Non-disclosure

Agreement)แก่เจ้าของข้อมูล ในการขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

2.2.ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดําเนินการเกี่ยวกับ การเก็บรวบรวม ใช้

หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามคําสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่ง

ดําเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

2.3.จนท.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) หมายถึง บุคคลหลักที่มีบทบาทสําคัญในการดูแลรักษาข้อมูลส่วน

บุคคลทั้งหมดขององค์กรไม่ว่าจะเป็นทั้งข้อมูลส่วนบุคคลทั้งภายใน เช่น (ข้อมูลพนักงาน) หรือ ภายนอก (ข้อมูลลูกค้า ,

ที่ปรึกษาโครงการ ,คู่ค้าทางธุรกิจ และผู้รับเหมา) ตั้งแต่การเก็บจัดเก็บรวบรวม, เปิดเผย, และนําข้อมูลไปใช้รวมไปถึง

การกําหนดทิศทางการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยและสอดคล้องตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งผู้

ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะเป็นผู้ประกาศแต่งตั้งให้ทราบ

สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

  1. สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องแจ้งรายละเอียดและวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ หรือ

เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลทราบก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะทราบว่าจะ

จัดเก็บข้อมูลอะไรบ้าง รวมถึงระยะเวลาการจัดเก็บ สถานที่ และวิธีการติดต่อกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล โดยผู้

ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

  1. สิทธิในการแก้ไขข้อมูล

เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิด

ความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย

  1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม

กรณีเจ้าของข้อมูลเคยให้ความยินยอมในการใช้ข้อมูลไป ต่อมาเกิดเปลี่ยนใจ ก็สามารถยกเลิกความยินยอม

นั้นเมื่อไหร่ก็ได้ โดยการยกเลิกจะต้องไม่ขัดต่อข้อจํากัดสิทธิในการถอนความยินยอมทางกฎหมาย หรือสัญญาที่ให้

ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ความยินยอมไปก่อนหน้านี้

  1. สิทธิในการขอระงับการใช้ข้อมูล

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลระงับการใช้ข้อมูลได้ ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดเปลี่ยนใจไม่

ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทําลายข้อมูลเมื่อครบกําหนดที่ต้องทําลาย

  1. สิทธิในการเข้าถึง ขอสําเนา หรือให้เปิดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคล

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสําเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเองจากผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ตัวเองอาจไม่แน่ใจว่าได้ให้ความยินยอมไปหรือไม่ โดย

สิทธิการเข้าถึงข้อมูลนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือคําสั่งศาล และการใช้สิทธินั้นต้องไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของ

บุคคลอื่น

  1. สิทธิในการขอรับและให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล

ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายแรกโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้ควบคุมราย

อื่น ก็สามารถขอให้ผู้ควบคุมรายแรกจัดทําข้อมูลที่อ่านได้ง่ายหรือจัดทําข้อมูลในรูปแบบที่เข้าถึงได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ

และโอนไปยังผู้ควบคุมอีกรายได้ ซึ่งข้อมูลที่โอนไปนั้น เจ้าของข้อมูลก็ยังขอรับข้อมูลนั้นจากผู้ควบคุมข้อมูลรายแรกได้

อีกด้วย แต่จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญา หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

  1. สิทธิในการขอคัดค้านการเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยร้องขอต่อผู้

ควบคุมข้อมูลเมื่อไรก็ได้ โดยร้องขอผ่านแบบฟอร์มที่ผู้ให้บริการจัดไว้ หรือติดต่อกับผู้ดูแลระบบ

  1. สิทธิในการขอให้ลบ หรือทําลายข้อมูลส่วนบุคคล

ในกรณีที่ข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจําเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ หรือผู้ควบคุมนําข้อมูลไป

เผยแพร่ในที่สาธารณะ หรือข้อมูลนั้นสามารถเข้าถึงได้ง่าย เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมลบหรือทําลายข้อมูลส่วน

บุคคล หรือทําให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ โดยผู้ควบคุมข้อมูลต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ค่าใช้จ่ายและการดําเนินการนั้น

  1. สิทธิในการร้องเรียน

เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการตาม PDPA ได้ ถ้าผู้ควบคุม ผู้ประมวลผล

รวมทั้งลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของผู้ควบคุม ผู้ประมวลผล ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงมีสิทธิในการเรียกค่า

สินไหมทดแทนทางศาลด้วย

มาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯกําหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล โดยให้เป็นไปตาม มาตรฐานที่กระทรวง

ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกําหนด เรื่องการเข้าถึงหรือควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล (access control) โดย

ประกอบด้วย

1 ให้มีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและอุปกรณ์ในการจัดเก็บและประมวลผล

2 ให้มีการกําหนดเกี่ยวกับการอนุญาตหรือการกําหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

3 ให้มีการบริหารจัดการการเข้าถึงของผู้ใช้งาน เพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตแล้ว

4 กําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต

5 จัดให้มีวิธีการตรวจสอบย้อนหลังการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลใด

6 กําหนดห้ามมิให้มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

ส่วนบุคคลโดยเด็ดขาด เว้นแต่เป็น การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย เพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือเพื่อกิจกรรมใน

ครอบครัวของบุคคลนั้น

7 จัดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อลบหรือทําลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาการเก็บรักษา ,ข้อมูลที่ไม่

เกี่ยวข้องเกินความจําเป็น ,เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องถอนความยินยอม

แนวปฏิบัติในกรณีการเก็บข้อมูลที่เคยมีการเก็บอยู่แล้ว

ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 95 กําหนดให้“ข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้

เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วน

บุคคลนั้นต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์เดิม ทั้งนี้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลกําหนดวิธีการยกเลิกความยินยอมและเผยแพร่

ประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ประสงค์ให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

ดังกล่าวด้วยเอกสารแบบฟอร์มขอถอนสิทธิในการเพิกถอนความยินยอม”

มาตรการเก็บรักษาใช้ข้อมูล

1.ประเภทของข้อมูล

1.1.ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทําให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ

ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม ประกอบด้วย

1.1.1.ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น

1.1.2.เลขประจําตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขใบอนุญาตขับขี่, เลขประจําตัวผู้เสียภาษี,

เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต (การเก็บเป็นภาพสําเนาบัตรประชาชนหรือสําเนาบัตรอื่นๆที่ที่ข้อมูลส่วนบุคคล)

1.1.3.ที่อยู่ อีเมล์ โทรศัพท์

1.1.4.ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น IP Address, MAC Address, Cookie ID

1.1.5.ข้อมูลทางชีวมิติ (Bio-metric) ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพใบหน้า ลายนิ้วมือ ฟิลม์เอ็กซ์เรย์ ข้อมูลสแกนม่านตา ข้อมูลอัต

ลักษณ์เสียง ข้อมูลพันธุกรรม

1.1.6.ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่นทะเบียนรถ โฉนดที่ดิน

1.1.7.ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลข้างต้นได้ เช่น วันเกิด สถานที่เกิด เชื้อชาติ สัญชาติ นํ้าหนัก ส่วนสูง ข้อมูล

ตําแหน่งที่อยู่ ข้อมูลการแพทย์ ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลการจ้างงาน

1.1.8.ข้อมูลหมายเลขอ้างอิงที่เก็บไว้ในไมโครฟิลม์

1.1.9.ข้อมูลการประเมินผลการทํางานหรือความเห็นของนายจ้างต่อการทํางานของลูกจ้าง

1.1.10.ข้อมูลบันทึกต่างๆที่ใช้ติดตามสตรวจสอบกิจกรรมต่างๆของบุคคล เช่น Log Files

1.1.11.เงินเดือน และเงินได้อื่นๆ ส่วนนบุคคล

1.2 ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลที่ใช้ระบุเจาะจงตัวบุคคลไม่ได้เช่น

1.2.1.เลขทะเบียบบริษัท

1.2.2.ข้อมูลสําหรับการติดต่อทางธุรกิจที่ไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคล เช่น หมายเลขโทรศัพท์ แฟกซ์ที่ทํางาน ที่อยู่สํานักงาน

อีเมล์บริษัท เช่น mecsince1982@gmail.com

1.2.3.ข้อมูลนิรนาม ข้อมูลแฝง ข้อมูลที่ถูกทําให้ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้อีกโดยวิธีทางเทคนิค

1.2.4.ข้อมูลผู้เสียชีวิต

1.2.5.ข้อมูลนิติบุคคล

1.3 เงื่อนไขและระยะเวลาในการเก็บข้อมูล

1.3.1.ข้อมูลส่วนบุคคล สําหรับงานทรัพยากรบุคคล มีการกําหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลคือ ตลอด

อายุงานที่พนักงานยังคงปฏิบัติงานให้กับบริษัท และเมื่อพนักงานได้สิ้ยสภาพพนักงานกับบริษัทฯแล้ว จะมีการลบ

ข้อมูลส่วนบุคคลพนักงานทิ้งภายใน 5 ปีหลังจากมีการสิ้นสภาพพนักงาน

รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล สําหรับงานทรัพยากรบุคคล

1.ใบสมัครที่เป็นแผ่นเอกสาร จัดเก็บเข้าแฟ้มในพื้นที่ ที่ซึ่งต้องได้รับอนุญาตก่อนจากผู้จัดการฝ่ายทรัพยากร

บุคคล และมีการกําหนดอนุญาตการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะพนักงานตําแหน่งผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ,พนักงาน

บริหารทรัพยากรบุคคลงานเงินเดือน และพนักงานบริหารทรัพยากรบุคคลงานจัดทําค่าแรงโครงการ เท่านั้น

2.ข้อมูลส่วนบุคคลรูปแบบ ไฟล์อิเลคทรอนิคส์ ที่ถูกบันทึกลงในโปรแกรมสําเร็จรูป มีการจัดเก็บข้อมูลผ่าน

ระบบ Cloud ผู้ที่จะเข้าถึงข้อมูลจะต้องได้รับสิทธิจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และให้มีการล๊อคอินเพื่อ ์ ยืนยันผู้ใช้งาน

เข้าสู่ระบบก่อนจะเข้าไปดูข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยที่จะเข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ได้ประกอบด้วย

2.1 เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ Cloud System

2.2เจ้าหน้าที่ดูแลโปรแกรมสําเร็จรูป

2.3 คณะกรรมการบริหารบริษัทฯ

2.4 ผู้บริหารสูงสุดของแต่ละฝ่าย

2.5 พนักงานบริหารทรัพยากรบุคคลงานจัดทําเงินเดือนและค่าแรง

1.3.2.ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ที่ปรึกษาโครงการ คู่ค้าทางธุรกิจ และผู้รับเหมา สําหรับงานจัดซื้อ

จัดจ้าง งานบัญชีและงานการเงิน มีการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ที่ปรึกษาโครงการ คู่ค้าทางธุรกิจ และ

ผู้รับเหมา ทั้งที่เป็นการจัดเก็บทั้งรูปแบบแผ่นเอกสารและไฟล์อิเลคทรอนิคส์ โดยมีกําหนดระยะเวลาในการจัดเก็บ

ข้อมูลคือ 10 ปีและหลังจากครบ 10 ปีแล้ว จึงจะมีการทําลายเอกสารทิ้ง

รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล 2 ส่วน

1.เอกสารส่วนบุคคลของลูกค้าและผู้รับเหมา เช่น บัตรประชาชน สําเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองบริษัท มี

การจัดเก็บเข้าแฟ้มในพื้นที่ ที่ซึ่งต้องได้รับอนุญาตก่อนจากผู้อํานวยการฝ่ ายบัญชีและการเงิน และมีการกําหนด

อนุญาตการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะพนักงานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

2.ข้อมูลส่วนบุคคลรูปแบบ ไฟล์อิเลคทรอนิคส์ ที่ถูกบันทึกลงในโปรแกรมสําเร็จรูป มีการจัดเก็บข้อมูลผ่าน

ระบบ Cloud ผู้ที่จะเข้าถึงข้อมูลจะต้องได้รับสิทธิจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และให้มีการล๊อคอินเพื่อยืนยันผู้ใช้งาน ์

เข้าสู่ระบบก่อนจะเข้าไปใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้

มาตรการป้องกันและเยียวยา

หากเจ้าของข้อมูลพบว่าผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีการ เก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล โดย

ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลควบคุม รวมถึงกรณี ผู้ประมวลผล ลูกจ้างหรือผู้รับจ้าง ฝ่าฝืนหรือไม่

ปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) โดยเร็วที่สุด

เพื่อที่เจ้าหน้าที่คุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลจะทําการตรวจสอบถึงสาเหตุที่มาและระบุจุดต้นเหตุของการรั่วไหล รวมทั้ง

ออกมาตรการเยียวยาเหตุการณ์รั่วไหลของข้อมูล พร้อมทั้งแจ้งแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือสํานักงานคุ้มครอง

ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกําหนดทันที

การทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ อาจพิจารณาทบทวนปรับปรุงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือแนวปฏิบัติได้เป็นครั้งคราว

เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข บริษัทฯ จะประกาศแจ้งให้

พนักงานทุกท่านทราบ

ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2565

…………………………………

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

 (นางรัมณีย์ อาษารัฐ)

เอกสารอ้างอิง

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
  • พระราชกฤษฎีกาก าหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติ

คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ 2563

“มากกว่าคุณภาพและความเชี่ยวชาญ 
คือการดำเนินการด้วยจิตวิญญาณที่เป็นธรรม”
ก้าวสู่โลกอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนไปด้วยกัน